ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
บทนำ PDF พิมพ์ อีเมล์
p0.2.jpg             “...คหบดีรัตนะย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีอิตถีรัตนะปรากฏแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับกิจการด้านท้องพระคลังตามพระราชอัธยาศัย ผู้ที่มีโภคะมากตามปกติก็ดี ผู้ที่เกิดในตระกูลมีโภคะมากก็ดี มีส่วนช่วยให้กิจการท้องพระคลังของพระราชาเจริญรุ่งเรือง จึงจะเป็นเศรษฐีคฤหบดีได้ก็จักษุเพียงดังทิพย์เกิดแต่วิบากกรรมพร้อมที่จะอำนวยประโยชน์ ย่อมปรากฏแก่คฤหบดีแก้วนั้นทีเดียว เป็นเหตุให้มองเห็นทรัพย์ภายในแผ่นดินได้ในรัศมี ๑ โยชน์ เขาเห็นสมบัตินั้นแล้วดีใจ ไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ รับอาสาทำหน้าที่การคลังให้พระราชา ดำเนินธุรกิจการคลังทุกอย่างให้สมบูรณ์...

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค พาลบัณฑิตสูตร คหปติรตนวัณณนา


             “...บทว่า มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ ความว่า คลังที่เก็บสิ่งของ ท่านเรียกว่าคลัง. อธิบายว่า มีคลังเต็มบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ที่ฝังเก็บไว้ มีฉางเต็มบริบูรณ์ด้วยข้าวเปลือก .... ในวันหนึ่ง พระราชานี้เสด็จออกไปเที่ยวตรวจดูรัตนะ. พระองค์ตรัสถามผู้รักษาคลังเก็บสิ่งของว่า แน่ะพ่อ ทรัพย์มากมายอย่างนี้ ใครเก็บสะสมมา. ภัณฑาคาริกทูลว่า พระราชบิดาและพระเจ้าปู่เป็นต้นของพระองค์สะสมมาตลอดชั่ว ๗ ตระกูล. พระราชาตรัสถามว่า ก็ชนเหล่านั้นสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว ไปที่ไหนกัน. ภัณฑาคาริกทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชนเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียวไปสู่อำนาจของความตาย. พระราชาตรัสถามว่า พวกเขาไม่ถือเอาทรัพย์ของตนไปด้วยหรือ. ภัณฑาคาริกทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ตรัสอะไร พวกเขาต้องละทิ้งทรัพย์นั้นไปโดยแท้ ถือเอาไปไม่ได้...

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค กูฏทันตสูตร


              ...(พระเจ้าปุกกุสาติ)ทรงให้ตีกลองประกาศว่า จำเดิมแต่วันนี้ พวกพ่อค้าเดินเท้า หรือพวกเกวียนเหล่าใด มาจากพระนครของ(พระเจ้าพิมพิสาร)พระสหายเรา จำเดิมแต่กาลที่พ่อค้าทั้งปวง เข้ามาสู่เขตแดนของเรา จงให้เรือนเป็นที่พักอาศัยและเสบียงจากพระคลังหลวง จงสละภาษี อย่าทำอันตรายใดๆ แก่พ่อค้าเหล่านั้น...พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค ธาตุวิภังคสูตร

              ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ  การสนทนาในระหว่างของเธอทั้งหลายที่ยังค้างอยู่เป็นอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันในศาลาเป็นที่บำรุง เกิดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บรรดาพระราชาสองพระองค์นี้ คือ พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพพระนามว่าพิมพิสารก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี องค์ไหนหนอแลมีพระราชทรัพย์มากกว่ากัน มีโภคสมบัติมากกว่ากัน มีท้องพระคลังมากกว่ากัน มีแว่นแคว้นมากกว่ากัน มีพาหนะมากกว่ากัน มีกำลังมากกว่ากัน มีฤทธิ์มากกว่ากัน หรือมีอานุภาพมากกว่ากัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญการสนทนาในระวางของข้าพระองค์ทั้งหลายนี้แล ค้างอยู่เพียงนี้ ก็พอพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายพึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้นั้น ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว ควรทำเหตุสองประการ คือ ธรรมีกถาหรือดุษณีภาพอันเป็นของพระอริยะ ฯลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่ากามสุขในโลกและทิพยสุข ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ [ที่จำแนกออก ๑๖ หน] แห่งสุขคือความสิ้นตัณหา ...พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

บทนำ

               คำว่า คลัง สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๕ ให้ความหมายไว้ว่า โดยทั่วไป คลัง หมายถึงสถานที่เก็บของเป็นจำนวนมาก เช่น คลังพัสดุ คลังสินค้า หรือสถานที่สำหรับเก็บทรัพย์สมบัติของหลวง หรือสถานที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงินของแผ่นดิน ส่วนคำว่า การคลัง ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่ายๆ หมายถึงการจัดให้ได้เงินมา การเก็บรักษาเงินที่ได้นั้น และการใช้จ่ายเงิน บทบาทหลักของการคลังก็คือ การเก็บรวบรวมรายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ
              
ที่มาของตำแหน่ง คลัง ยังไม่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แน่นอนว่ามีมาแต่เมื่อใด แต่เมื่อพิจารณาจากบทบาทและหน้าที่ตำแหน่ง คลัง น่าจะมีมาตั้งแต่เริ่มรวมตัวกันเป็นสังคมแล้ว เนื่องดด้วยในการสร้างความเจริญให้กับสังคมหรือบ้านเมืองจำเป็นต้องอาศัยการคลังเป็นรากฐาน หน้าที่ของคลังในแต่ละสมัยย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะเศรษฐกิจของยุคนั้น ดังจะเห็นได้ว่า ในสังคมโบราณ การรวบรวมผลประโยชน์ได้มาจากการเกณฑ์แรงงานหรือสิ่งของมาใช้สอยโดยตรง คลังในสมัยนี้จึงเป็นที่รวบรวมสิ่งของต่างๆ ต่อมาเมื่อสิ่งของในท้องพระคลังมีมากเกินกว่าที่จะใช้สอยในราชการ พระคลังจึงเพิ่มหน้าที่ด้วยการนำสิ่งของเหล่านั้นไปทำการค้า และในสมัยที่การค้าเจริญขึ้น เงินตรามีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า คลังจึงทำหน้าที่บริหารเงินตราเหมือนดังเช่นปัจจุบัน
               
ในพระไตรปิฎกหรืออรรถกถาก็ปรากฏคำว่า คลัง ท้องพระคลัง หรือ คลังหลวงหลายแห่งซึ่งก็ให้ความหมายในลักษณะเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่า คลังหลวง น่าจะมีมาตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งบ้านเมืองซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายทรัพย์สมบัติเพื่อสร้างความเจริญในด้านต่างๆ ตามโบราณราชประเพณีของไทยถือว่า เงินพระคลังหลวงเป็นพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการสั่งเบิกจ่ายเพื่อใช้สอยในกิจการต่างๆ ทั้งปวงได้โดยลำพังพระองค์เอง การแบ่งสรรรายได้แผ่นดินเพื่อนำไปใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการแผ่นดินหรือส่วนพระองค์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของพระราชทรัพย์ทั้งปวงในแผ่นดิน
               
เมื่อหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เมตตาออกมาเป็นผู้นำชาวไทยในการกอบกู้ชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ โดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้ามาฟื้นฟูชาติไทยทั้งทางจิตใจและวัตถุเงินทอง หลวงตาได้ให้ความหมายของ คลังหลวง ว่าเป็นคลังสมบัติเดิมที่บรรพบุรุษเก็บรักษาเผื่อไว้ใช้ในยามจำเป็นเข้าขั้นวิกฤตการณ์
              
เมื่อศึกษาค้นคว้าจากประวัติศาสตร์ไทยตามความหมายของหลวงตาทำให้เห็นสายทางความเป็นมาอย่างชัดแจ้งว่า คลังหลวง ก็คือพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ที่เก็บรักษาสืบทอดกันมาช้านานโดยกันไว้เป็นทุนสำรองของแผ่นดิน ปัจจุบันอยู่ในการดูแลรักษาของฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย มีชื่อเป็นทางการว่า ทุนสำรองเงินตรา
               เนื้อหาในตอนที่ ๑ กล่าวถึงความเป็นมา หลักการและเจตนารมณ์ของคลังหลวง โดยจำแนกทุนสำรองของชาติออกเป็นช่วงตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้          
               Ø ช่วงที่ ๑ ทุนสำรองเดิมแยกเก็บรักษาในคลังหลวง เป็นทุนสำรองที่ได้รับการสืบทอดมายาวนานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชาติไทย สมัยสุโขทัย อยุธยา กระทั่งถึงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ย่อมกันพระราชทรัพย์ไว้ส่วนหนึ่งจากคลังหลวงเก็บรักษาไว้เป็นหลักประกันชาติไทยจากภาวะการศึกสงคราม ฤดูกาล โรคระบาด หรือเหตุการณ์คับขันอื่นๆ หากใช้หมดไปท่านก็เริ่มเก็บสะสมขึ้นมาใหม่เพื่อความไม่ประมาทในการปกครองบ้านเมือง
              
Ø ช่วงที่ ๒ ทุนสำรองช่วยไถ่บ้านไถ่เมือง เป็นทุนสำรองที่นำออกใช้แก้วิกฤตการณ์หรือภาวะคับขันอันตรายถึงขั้นต้องสูญเสียอธิปไตย เปรียบได้กับเป็นการยอมสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เมื่อเกิดภาวะจำเป็นขึ้นมาก็จำต้องนำทุนสำรองที่เก็บรักษาไว้นี้ออกไถ่บ้านไถ่เมืองดังเช่นบทบาทของเงินถุงแดงในปี ร.ศ. ๑๑๒ เป็นต้น
    Ø ช่วงที่ ๓ ทุนสำรองหนุนหลังค่าเงินบาท เป็นทุนสำรองที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะเศรษฐกิจในยุคสมัยใหม่ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นหลักประกันชาติตามเดิมแล้ว ยังมีหน้าที่ในการดำรงเสถียรภาพค่าเงินบาทไทยให้มีความมั่นคงปลอดภัยไม่แปรปรวนขึ้นลงจนส่งผลกระทบต่อการค้าขาย การลงทุน หรือการดำเนินกิจกรรมทางการเงินต่างๆ
                 
Ø   
ช่วงที่ ๔ ทุนสำรองกับภาวะสงคราม เพื่อให้เห็นว่าแม้ยามบ้านเมืองต้องเผชิญภาวะสงครามข้าวยากหมากแพงหรือปัญหาต่างๆ พระมหาบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ตลอดจนบรรพบุรุษท่านก็ไม่เคยถือเอาเป็นเหตุเข้ามาแตะต้องทุนสำรองให้ผิดหลักการและเจตนารมณ์ไปแม้แต่น้อย ท่านกลับดำรงทุนสำรองให้มีความแน่นหนามั่นคงยิ่งขึ้น มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายถ่ายเททุนสำรองให้อยู่ในจุดที่มั่นคงปลอดภัยอย่างที่สุด มิได้นำไปใช้จ่ายในทางอื่นใดแม้แต่น้อยเลย ความเข้มงวดดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ลูกหลานในภายภาคหน้าจักได้ยึดถือเอาเป็นแบบอย่างเพื่อความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
                 
Ø   ช่วงที่ ๕ ทุนสำรองเดิมในคลังหลวงกับทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อให้ทราบถึงการวัดฐานะของประเทศว่ามั่นคงมากน้อยเพียงใดดูได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยทุนสำรองรวมกันถึง ๓ ประเภท โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป สำหรับทุนสำรองกองแรกที่รักษาสืบทอดกันมาแต่เดิมในอดีตใช้ชื่อในปัจจุบันว่าทุนสำรองเงินตรา กฎหมายยังรักษาหลักการและเจตนารมณ์ของบูรพกษัตริย์และบรรพบุรุษไว้อย่างเคร่งครัด
                 
เนื้อหาในตอนที่ ๒ กล่าวถึงการกอบกู้ชาติของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยน้อมนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องดำเนินพร้อมกับการสืบทอดเจตนารมณ์ของคลังหลวงไว้อย่างเคร่งครัดตามรอยบรรพชน จำแนกเนื้อหาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
                   
Ø   ช่วงที่ ๑ วิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐ ทุนสำรองธปท.พินาศ ทุนสำรองคลังหลวงค้ำชาติ ภาวะสงครามเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อชาติทำให้ค่าเงินบาทตกต่ำลงมาก แต่เพราะมีทุนสำรองในคลังหลวงช่วยพยุงค่าเงินไว้ส่วนหนึ่งทำให้ประคับประคองปัญหาไว้ได้ในระดับหนึ่ง
                   
Ø   ช่วงที่ ๒ หลวงตามหาบัวกู้ชาติ เพิ่มพูนคลังหลวง กล่าวถึงการนำเงินตราต่างประเทศและทองคำเข้าเพิ่มพูนทุนสำรองในคลังหลวงให้มั่นคงยิ่งขึ้น เป็นการสืบทอดหลักการและเจตนารมณ์ของพระมหาบูรพกษัตริย์และบรรพชนด้วยความสำนึกในพระคุณของท่านที่ก่อร่างสร้างคลังหลวงไว้ให้เป็นมรดกสู่ลูกหลานในปัจจุบันและอนาคตกาล นอกจากนี้ยังให้เหตุผลและข้อมูลสนับสนุนหลวงตาในการให้ถือครองทองคำเป็นทุนสำรองของชาติ
                    
Ø  
ช่วงที่ ๓ ปี ๒๕๔๓ รวมบัญชีอุบายกลืนกินคลังหลวง กล่าวถึงอุบายวิธีการรุกล้ำเข้ามากลืนกินคลังหลวงโดยการแก้ไขกฎหมายให้แปรเปลี่ยนไปจากหลักการและเจตนารมณ์เดิมของบรรพบุรุษ เพื่อให้รู้ทันกลไกในการกล่าวอ้างเหตุผลอันชวนฟังแต่เนื้อแท้ก็คือการปล้นเอาคลังหลวงของบรรพบุรุษไปใช้จ่ายผิดประเภทและผิดวัตถุประสงค์ซึ่งนับเป็นอันตรายยิ่ง
     Ø   ช่วงที่ ๔ การปกป้องคลังหลวง เพื่อให้รู้เหตุผลในการปกป้องคลังหลวงและวิธีการปกป้องถึงขั้นต้องสามารถยอมพลีชีพเพื่อรักษาคลังหลวงเอาไว้
                    
Ø   ช่วงที่ ๕ พระคุณบรรพบุรุษ ดอกผลคลังหลวงไถ่ถอนหนี้ชาติ เพื่อให้ลูกหลานซาบซึ้งใจและตระหนักว่าหนี้สินที่พากันก่อไว้ในยุคนี้นั้นสามารถผ่านพ้นได้เนื่องจากทรัพย์สินเงินทองที่บรรพชนท่านเก็บสะสมไว้อย่างยาวนานด้วยความรอบคอบ มองเห็นการณ์ไกล ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่โลภโมโทสัน และไม่ประมาท 
     Ø   
ช่วงที่ ๖ ปี ๒๕๕๐ แก้กฎหมายเงินตรา อุบายล้วงเงินคลังหลวง กล่าวถึงอุบายวิธีแก้กฎหมายเดิมของบรรพบุรุษให้แปรเปลี่ยนหลักการและเจตนารมณ์ไป โดยมุ่งหมายจะเข้ามาล้วงเอาสมบัติในคลังหลวงไปใช้จ่ายในลักษณะอื่นที่บรรพบุรุษไม่เคยพาคิดพาทำมาก่อน เพราะจะเป็นอันตรายต่อคลังหลวงได้ในภายภาคหน้า จัดว่าเป็นการกระทำที่ประมาทและอาจนำมาซึ่งความหายนะของชาติบ้านเมือง
                   
Ø    ช่วงที่ ๗ เจตนารมณ์ของหลวงตา คือ แก้ปัญหาด้วยธรรมะ เนื้อหาในช่วงนี้เป็นบทสรุปให้เห็นว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนาสามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองได้แม้จะหนักหนาเพียงใดก็ตาม เป็นการฟื้นฟูทั้งทางด้านจิตใจและวัตถุพร้อมกันไป p0.1.jpg

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >