๑ ทุนสำรองดั้งเดิม ในคลังหลวง |
การบริหารการคลังของไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑ – ๑๙๘๑) เป็นต้นมา แต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ สภาพการปกครองของสุโขทัยเป็นแบบธรรมราชา ยึดคุณธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ ราชจรรยานุวัติ และพระจักรวรรดิวัตร ผู้ปกครองมีความใกล้ชิดกับราษฎร และเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรเยี่ยงบุตรของตน ที่ผู้ปกครองปฏิบัติเช่นนี้ได้และมีประสิทธิภาพก็เพราะประชากรของสุโขทัยมีจำนวนไม่มากนัก สภาพการปกครองของไทยในสมัยอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย กล่าวคือเป็นแบบเอกาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพต่างจากประชาชนสามัญ พระมหากษัตริย์เป็นทั้งเจ้าชีวิตของประชาชนและเจ้าแผ่นดิน มีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น แต่ การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทำให้พระองค์มีพระทัยเมตตา ทรงทำทาน รักษาศีล และยึดมั่นในธรรมะ จึงมีพระราชจริยวัตรที่เหมาะสมและยุติธรรม การที่สภาพการปกครองเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ทำให้พระองค์ต้องแยกออกมาจากกลุ่มชน มักจะประทับอยู่แต่ในพระราชวัง ราษฎรจะมองพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ส่วนราษฎรก็ต้องให้แรงงานถวายต่อกษัตริย์ตามกำหนดเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างเหินมาก ในสังคมมีชนหลายชั้น ชั้นสูงสุดคือพระมหากษัตริย์ รองลงมาคือ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่และทาส รัฐบาลมีรายได้จาก ส่วยสาอากร หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษีอากร ๔ ชนิด ได้แก่ จังกอบ อากร ส่วย และ ฤชา ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็น ๔ แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และ กรมนา โดยกรมพระคลังทำหน้าที่รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมือง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บและรักษาส่วยสาอากร ๓. เสนาบดีกรมพระคลัง บังคับบัญชาเกี่ยวกับการจัดการรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากรและ บังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีหน้าที่เกี่ยวกับกรมพระคลัง สินค้าการค้าสำเภาของหลวงด้วย คลังหลวง กรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างชาติ ทางชาติตะวันออกก่อน เช่น จีน และแขก ชาติตะวันตกมีโปรตุเกสเป็นชาติแรก ต่อมามีสเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับการค้าขายกับต่างชาติอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้ามไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายกันโดยตรง นอกจากนี้พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก แม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสามารถหารายได้มาเจือจุนบ้านเมืองจากหลายทาง แต่กลับได้รับผลประโยชน์รายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก เพราะมีการรั่วไหลกันมาก อันเนื่องมาจากการทุจริตของหลายฝ่าย เช่น การทุจริตของเจ้าพนักงานในสมัยนั้น ซึ่งมีวิธีฉ้อโกงหลวงหลายรูปแบบ การไม่ยอมเสียอากรของฝ่ายราษฎรตลอดจนความบกพร่องของกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งอันที่จริงกฎหมายอยุธยามีบทลงโทษผู้กระทำผิดเหล่านี้ไว้ตั้งแต่ขั้นภาคทัณฑ์ ขั้นปรับ ขั้นประจาน ขั้นจองจำและขั้นประหารชีวิตตัดคอ ริบราชบาตร[1] แต่ก็มิได้ทำให้การทุจริตเบาบางลง ในขณะเดียวกันมีการให้ขวัญและกำลังใจแก่ผู้กระทำความดี ซื่อสัตย์ในหน้าที่ด้วยการให้รางวัลจากหลวงด้วยชาวต่างชาติได้บันทึกถึงความมั่งคั่งของพระคลังในสมัยอยุธยาไว้ว่า ...น้อยนักที่จะมีพระมหากษัตริย์ทางภาคบุรพทิศพระองค์ใด ซึ่งครองราชย์อยู่ในปัจจุบันนี้ที่จะทรงสมบูรณ์ด้วยพระราชทรัพย์เทียบเท่าพระเจ้ากรุงสยาม ไม่เพียงแต่พระองค์จะทรงครอบครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ตกทอดมาทุกชั้นพระราชวงศ์เท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งว่า ที่ได้สะสมมาเป็นเวลาร่วม ๒๐๐ ปี โดยที่ไม่มีข้าศึกมาปล้นพระบรมมหาราชวัง แล้วยังได้พระราชทรัพย์ที่ได้ทรงสะสมไว้ นับแต่ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นต้นมาอีกด้วย... และอีกตอนหนึ่งว่า ท้องพระคลังอีกแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยดาบญี่ปุ่น ตีด้วยเหล็กเนื้อดี อาจฟันแท่งเหล็กให้ขาดสะบั้นได้โดยง่ายดาย แล้วก็ไม้กฤษณา กะลำพัก ชะมดเชียง และเครื่องกระเบื้องชุดลายครามจากเมืองจีนเป็นอันมาก กับผ้าแพรพรรณอย่างดีทำในชมพูทวีป และในยุโรปและเครื่องกระเบื้องเคลือบชนิดบางลางชนิด ซึ่งเมื่อใส่ยาพิษลงไปแล้วก็จะแตกทันที สรุปแล้ว เราไม่อาจที่จะบอกได้ถูกต้องว่า มีสิ่งอันล้ำค่าหาได้ยากและน่าเห็นน่าชมเชยมากมายสักเท่าไรในท้องพระคลังอื่นๆ อีก... ความเสียหาย..หลังเสียกรุง
กล่าวได้ว่า เมืองไทยในครั้งนั้นต้องสูญเสียคนประมาณสองแสนเศษ ทั้งตายด้วยอาวุธและป่วยไข้อดโซตาย นอกจากหลักฐานของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เห็นเหตุการณ์ในขณะนั้น เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้บันทึกถึงความยากจนอดอยากของคนไทยในขณะนั้นไว้ตรงกันว่า
พระเจ้าตากสินทรงเป็นกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ในขณะที่บ้านเมืองประสบกับความพินาศทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีภาระอันหนักหน่วงที่จะต้องดูแลราษฎรให้ได้รับความร่มเย็น ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยขับไล่พม่าข้าศึกที่คอยรบกวนอยู่เสมอมิขาด สิ่งที่พระองค์ปฏิบัติอย่างเร่งด่วนคือ ทรงแจกอาหาร ส่งเสริมการทำนา เพิ่มแรงงานและส่งเสริมการค้า โดยมิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังข้อความในพระราชพงศาวดารว่า ...ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหารแก่ราษฎรทั้งหลายซึ่งอดโซอนาถาทั่วสีมามณฑล เกลื่อนกล่นกันมารับพระราชทานมากกว่าหมื่น บรรดาข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ไทย จีนทั้งปวงนั้น ได้รับพระราชทานข้าวสารเสมอคนละถัง กินคนละยี่สิบวัน ครั้งนั้นยังหามีผู้ใดทำไร่นาไม่ อาหารกันดารนัก และสำเภาบรรทุกข้าวสารมาแต่เมืองพุทไธมาศจำหน่ายถังละสามบาท สี่บาท ห้าบาทบ้าง ทรงพระกรุณาให้ซื้อแจกคนทั้งปวง โดยพระราชอุตสาหะโปรดเลี้ยงสัตว์โลก พระราชทานชีวิตมิให้อาลัยแก่พระราชทรัพย์แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้า เงินตราแก่ไพร่ฟ้าประชาชนจักนับมิได้... ครั้งนั้นข้าวแพงถึงเกวียนละสามชั่ง ด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภารบันดาลให้กำปั่นข้าวสารมาแต่เกาะทิศใต้เป็นหลายลำ ในขณะเมื่อจะยกทัพจึงพระกรุณาฯ ให้รอทัพอยู่ แล้วให้จัดซื้อแจกจ่ายให้พลกองทัพจนเหลือเฟือแล้ว ได้แจกจ่ายแก่สมณชีพราหมณ์ยาจกวณิพก และครอบครัวบุตรภรรยาข้าราชการทั้งปวงทั่วกัน... ครั้นบ้านเมืองว่างจากสงคราม พระองค์ก็ชักชวนให้ราษฎรทำนาทำไร่และค้าขายตามปกติ ทำให้ข้าวปลาอาหารค่อยบริบูรณ์ขึ้น และมีอาหารพอที่จะบำเพ็ญกุศล พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็ได้รับบิณฑบาตกันถ้วนหน้า ในการตระเตรียมที่ไว้สำหรับทำนาก็เพื่อจะได้มีข้าวไว้ใช้ในยามสงครามได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในโอกาสที่ได้กระทำการฐาปนาพระนครขึ้นใหม่ ...ให้ขุดที่สวนเดิมเป็นที่ท้องนานอกคูเมืองทั้งสองฟาก ให้เรียกว่า ทะเลตม ไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร แม้นมาตรว่าจะมีทัพศึกสงครามมา จะได้ไว้เป็นที่ทำเลตั้งค่ายต่อรบข้าศึกถนัด... ในโอกาสที่แม่ทัพนายกองหมดภาระศึกสงครามคราวใด พระองค์ก็จะโปรดให้คุมไพร่พลทำนาทันที เพื่อจะได้มีเสบียงอาหารไว้ใช้ในพระนครต่อไป ดังเมื่อครั้งเสร็จศึกพม่าเมืองถลางปี พ.ศ. ๒๓๑๙ พระองค์โปรดให้กองทัพกลับลงมายังพระนครพร้อมกัน แล้วโปรดให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาธรรมาคุมไพร่พลทั้งปวงตั้งทำนา ณ ทะเลตมฟากตะวันออกของกรุงธนบุรี และทุ่งบางกะปิ สามเสน ให้พระยายมราช พระยาราชสุภาวดีคุมไพร่พลทั้งปวงตั้งทำนา ณ ทะเลตมฟากตะวันตก และกระทุ่มแบน หนองบัว แขวงเมืองนครไชยศรี ...การที่ประเทศสยามกลับตั้งตัวได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความขยันหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงจะไม่มีเงินใช้เป็นแน่ เพราะพวกพม่าได้ขนไปจนหมดสิ้น เพราะฉะนั้นการที่ได้มีการค้าขายกันในทุกวันนี้ ก็เป็นด้วยพวกจีนได้ไปเที่ยวขุดเงินทองที่ฝังไว้... ครั้งนั้นประเทศจีนเป็นประเทศที่ไทยติดต่อค้าขายด้วยมากที่สุด และพ่อค้าจีนก็เข้ามาค้าขายทางหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น ตราดและจันทบุรี และเมื่อตั้งกรุงธนบุรีขึ้นก็มีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขายในกรุงธนบุรีอยู่ตลอดรัชกาล พระองค์ทรงสนับสนุนและอุปการะชาวจีนให้เข้ามารับราชการเป็นจำนวนมาก และให้เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการค้าสำเภาก็มาก ส่งเสริมให้ไปค้าขายกับต่างประเทศในนามของพระมหากษัตริย์ และด้วยวิธีนี้จึงเป็นทางนำรายได้หลักเข้าสู่ประเทศได้มากกว่าการเก็บภาษีอากรจากราษฎรในยามที่ต้องฟื้นฟูบ้านเมือง ตลอดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแทบจะหาเวลาว่างจากศึกสงครามไม่ได้เลย ราษฎรต้องถูกเกณฑ์ไปสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา จึงแทบไม่มีเวลาประกอบอาชีพ แม้ว่าพระองค์จะทรงพยายามแก้ไขภาวะการทางด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แต่ถึงกระนั้นสภาพทางการค้าขายก็ยังไม่เจริญเท่าที่ควร กระทั่งถึงปลายรัชกาลสภาพทางเศรษฐกิจจึงเริ่มดีขึ้น เหตุสำคัญก็เนื่องจากว่างจากสงคราม พม่ามิได้กลับมาก่อกวนอีก คลังหลวง กรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงดำเนินวิธีการต่างๆ เพื่อหารายได้มาค้ำจุนประเทศ พอจะสรุปได้ดังนี้ ¨ ทรงใช้จ่ายอย่างประหยัด ตามปกติพระมหากษัตริย์จะทรงสร้างพระมหาปราสาทให้สมพระเกียรติยศ พระเจ้าแผ่นดินเมื่อขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ทรงตัดพระทัยไม่สร้าง และ การสร้างวัดใหม่ตาม ธรรมเนียมของกษัตริย์ไทยสมัยก่อน ก็ทรงไม่ทำตาม กล่าวได้ว่า ทรงพยายามใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด และเป็นเหตุหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูการเงินการคลังของไทยให้กลับมั่นคงภายในเวลาไม่ช้า เร่งรัดการเก็บส่วยสาอากรตามหัวเมืองให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และไม่ให้ติดค้างหลายๆ ปีเหมือนอย่าง แต่ก่อน แตกจำต้องหลบหนีข้าศึกเพื่อเอาตัวรอด ครั้นจะหอบเงินทองติดตัวไปด้วยก็กลัวจะหนีไม่รอด ทั้งกลัว โจรผู้ร้ายจะแย่งชิง จึงใช้วิธีเอาทรัพย์สินเงินทองข้าวของมีค่าฝังดิน เมื่อข้าศึกยกกลับไปแล้วจะได้กลับ มาขุดเอาคืน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่จำที่ซ่อนไม่ได้เพราะพม่าเผาบ้านเรือนเสียเหี้ยนเตียน จนไม่รู้ว่าบ้าน ของตนอยู่ตรงไหน บางคนก็ถูกจับเป็นเชลย และบางคนก็ล้มตายในระหว่างที่หนีข้าศึก จึงมีทรัพย์สินตก
ค้างอยู่ใต้ดินเป็นอันมาก พวกนายทุนบางคนจึงประมูลเงินให้แก่รัฐบาลเป็นเงินก้อน เพื่อขอสิทธิผูกขาด
เก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประสงค์จะขุดทรัพย์ที่ยังซ่อนไว้ รัฐบาลกำลังต้องการได้เงินเข้าท้องพระคลัง จึง ยอมให้มีนายอากรผูกขาด ตามโบราณราชประเพณีเท่าที่ปรากฏ พระราชทรัพย์ในพระคลังมหาสมบัติซึ่งหมายถึงเงินผลประโยชน์รายได้แผ่นดินทั้งหมด เป็นพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ด้วย หลักฐานยืนยันถึงความจริงข้อนี้คือคำกราบบังคมทูลของเสนาบดีจตุสดมภ์ทั้ง ๔ เป็นธรรมเนียมเมื่อแรกขึ้นราชาภิเษกของพระเจ้าแผ่นดิน โดยกราบบังคมทูลถวายสรรพราชสมบัติทั้งปวงของแผ่นดินที่อยู่ในหน้าที่ดูแลรักษาของตน ดังความตอนหนึ่งว่า
[1] รวบเอาทรัพย์สินของคนที่ต้องพระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง
โบราณถือว่า เงินพระคลังมหาสมบัติเป็นพระราชทรัพย์ของพระเจ้าแผ่นดินแล้วแต่จะใช้จ่ายในการพระองค์หรือในการแผ่นดินได้ตามพระราชอัธยาศัย มิได้แบ่งว่าเป็นเงินในพระองค์หรือเงินแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการสั่งเบิกจ่ายเพื่อใช้สอยในกิจการต่างๆ ทั้งปวงได้โดยลำพังพระองค์เอง การแบ่งสรรรายได้แผ่นดินเพื่อนำไปใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการแผ่นดินหรือส่วนพระองค์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ เพราะสมบัติแผ่นดินในเวลานั้นคือ “ราชสมบัติ” ซึ่งหมายถึง พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของพระราชทรัพย์ทั้งปวงในแผ่นดิน
ด้วยความสำคัญต่อความมั่นคงของบ้านเมืองเช่นนี้เองทำให้พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีตทรงจำเป็นต้องเก็บรักษาเป็น “ทุนสำรอง” ไว้อย่างมั่นคงและสืบทอดต่อเนื่องกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่าทุกยุคสมัยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์ทรงเก็บรักษาพระราชทรัพย์ตามหลักการและเจตนารมณ์เช่นนี้ตลอดมา |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|