ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
๒ "เงินถุงแดง" พระราชทานเป็นทุนสำรอง PDF พิมพ์ อีเมล์
p2.00.jpg



             ในสมัยก่อนการค้าขายระหว่างประเทศอาศัยเรือสำเภา
ตั้งแต่สมัยธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยติดต่อค้าขายกับจีนเป็นp2.0.jpgส่วนใหญ่ ส่วนชาติอื่นก็มีอินเดีย มะละกา ชวา (เมืองยักกะตรา) แขกมัวร์ ฯลฯ 


            p2.1.jpgในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

         (พ.ศ.
๒๓๖๗ -๒๓๙๔) รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคนั้น  ทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่าในแผ่นดินก่อนๆ ทรงพยายามหาวิธีเพิ่มรายได้ให้แผ่นดินด้วย ทรงให้มีการผูกขาดการเก็บภาษีอากร โดยอนุญาตให้เจ้าภาษีจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในแต่ละปีเจ้าภาษีจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละชนิดให้แก่รัฐบาล เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้วเจ้าภาษีจัดแบ่งส่งเงินรายได้แก่รัฐบาลเป็นรายเดือนจนครบกำหนดที่ได้ประมูลไว้ นับเป็นการเริ่มระบบเจ้าภาษีนายอากรนับแต่นั้นมา
p2.2.jpg
              พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลายๆ ด้าน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระราชบิดา  คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอย่างมาก ทั้งด้านการทหาร การปกครอง และเศรษฐกิจ ทรงจัดการค้าสำเภาหลวงและแต่งสำเภาส่วนพระองค์ส่งของไปค้าขายกับเมืองจีนตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับกรมท่าในรัชกาลที่ ๒ ถึงขั้นร่ำรวยจนพระราชบิดาทรงเรียกว่า "เจ้าสัว" ทรัพย์สินในส่วนของพระองค์เองนั้น ก็ทรงถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงใช้สอยมิให้ขาดแคลนเหมือนเมื่อต้นๆ รัชกาล ดังปรากฏหลักฐานว่า 
                    
                    “
เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระราชทรัพย์ขัดสน เงินท้องพระคลังจะแจกข้าราชการไม่พอ ต้องลดกึ่งและแบ่ง ๓ แต่ให้ ๒ แทบทุกปี เงินไม่มีต้องเอาผ้าตีให้ก็มีบ้าง ส่วนหนึ่งได้รับทูลเกล้าฯ ถวายจากกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มาแจกเบี้ยหวัด แล้วจึงเก็บเงินค้างใช้คืน เพราะครั้งนั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ค้าสำเภามีกำไรมาก
ครั้นรัชสมัยของพระองค์  ส่วนเงินกำไรที่ได้มาเป็นเงินส่วนพระองค์นี้ มิได้ทรงใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงใดๆ หรือยกให้พระราชโอรสธิดาตามพระทัยชอบ ทั้งที่มีสิทธิ์จะทรงกระทำได้ แต่ทรงนำมาใส่ ถุงแดง แยกเป็นถุง ถุงละ ๑๐ ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องพระบรรทม มีผู้ไปกราบบังคมทูลถามว่า เก็บไว้ทำไม ใช้ก็ไม่ใช้ รับสั่งว่า ส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เพื่อสร้าง และทะนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในพระนครและภายนอก อีกส่วนหนึ่งทรงยกให้แผ่นดินเก็บรักษาไว้ใช้ในยามจำเป็นp2.3.jpg                                                                       












                
ในรัชสมัยของพระองค์โปรดฯ ให้ พระยาราชมนตรีเป็นผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่รักษาเงินและจ่ายเงินรับเงินทั้งแผ่นดิน สำหรับ เงินถุงแดงก็อยู่ในข่ายเป็นเงินพระคลังมหาสมบัติ แต่แยกเก็บไว้ ไม่โปรดฯ ให้นำออกใช้จ่าย ด้วยการเงินทองของแผ่นดินมั่นคงตลอดรัชกาล ไม่จำเป็นต้องพระราชทานเงินถุงแดงช่วย p2.4.jpg
             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนพระองค์จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
เมื่อประชวรหนักใกล้เสด็จสวรรคต ก็มิได้ทรงพะวงกับเรื่องอื่นนอกจากความสงบสุขของแผ่นดิน ถึงกับพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าไว้เป็นครั้งสุดท้ายว่า
                     
"...การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว..."
p2.5.jpg
p2.7.jpg
 
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >