ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
๙ ทุนสำรองธนบัตรหนุนค่าเงินตรา PDF พิมพ์ อีเมล์
p9.1.jpg               ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้การรับจ่ายเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ สืบเนื่องจากอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกกำลังแผ่เข้ามาคุกคามดินแดนไทย ทำให้พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศและเพื่อทำให้ประจักษ์ถึงฐานะและบทบาทของไทยที่มีความ ศิวิไลซ์ เช่นเดียวกับอารยประเทศอื่นๆ ในสังคมโลก ความคิดในการจัดตั้ง ธนาคารกลาง (National Bank) เป็นธนาคารของประเทศนับว่าก่อกำเนิดขึ้นจากจุดนี้ด้วยเช่นกันดังคำกล่าวของ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผู้ตามเสด็จคราวประพาสยุโรปด้วยพระองค์หนึ่ง ว่าp9.2.jpg
            ...ถ้าไทยมีอำนาจในการนี้ขึ้นได้เพียงใดก็เท่ากับเปนไทยแก่ตัวขึ้นเพียงนั้น ฟิแนนซ์เปนเครื่องป้องกันผลประโยชน์ของบ้านเมืองทางฝ่ายพลเรือน ทหารเปนเครื่องรักษาผลประโยชน์ในการอุกฉกรรจ์ กำลังทั้งสองฝ่ายนี้เมื่อพร้อมจึงนับว่าเปนกำลัง ถ้าขาดฝ่ายหนึ่งก็ไม่เป็นองค์ การฟิแนนซ์เมืองของเราเหมือนกับน้ำขังอยู่ในสระ มีคลองไหลเข้าออกอยู่ ๒ ทาง คือคลองใหญ่ของอังกฤษ และลำหลอดเล็กของฝรั่งเศส ซึ่งเจ้าของทั้งสองอาจปิดเสียให้น้ำเน่าได้ง่าย...
            
” 
แต่ต่อมาทรงเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะมีอุปสรรคมาก โดยเฉพาะขาดความร่วมมือจากที่ปรึกษาการคลังของประเทศซึ่งเป็นชาวอังกฤษในขณะนั้น ด้วยเหตุผลว่า         
            
“...เรื่องแบงก์กิงจะคิดกับพวกอังกฤษคงไม่มีทางสำเร็จเพราะเปนการผิดทางที่เขาเปนคนกับทั้งเปนข้าราชการของอังกฤษ ซึ่งจำต้องรักษาผลประโยชน์ของอังกฤษเปนธรรมดา ... รู้สึกว่าเขาไม่อยากให้เรามีกำลังที่จะตัดผลประโยชน์ในธุระของชาติเขา...แลร้องว่าในประเทศอินเดีย รัฐบาลก็หาได้ตั้งแนชนัลแบงก์ไม่...”
           
             ดังนั้นจึงทรงระงับการจัดตั้งธนาคารกลางไว้ก่อน คงทรงดำเนินการแต่เรื่องการออกธนบัตรรัฐบาลกระทั่งมีการก่อตั้ง
กรมธนบัตร ขึ้น โดยในกลางปี พ.ศ. ๒๔๔๕ รัฐบาลได้มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง ๓ แห่ง p9.3.jpg ให้ถอนคืนบัตรธนาคารออกจากระบบเงินตรา เพราะต้องการนำธนบัตรที่เป็นของรัฐบาลเองออกใช้ในวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ และมีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยมูลเหตุว่า
              
...การค้าขายในพระราชอาณาจักร์ ณ บัดนี้ ย่อมสมบูรณ์ขึ้นกว่าแต่ก่อนเปนอันมาก การรับส่งเงินทองซึ่งเปนของกลางสำหรับแลกเปลี่ยนในระหว่างสินค้าทั้งหลายย่อมมีจำนวนที่รับจ่ายมากขึ้น การที่นำเงินไปมาคราวละมากๆ เช่นนั้น  ย่อมให้เปนเครื่องลำบากเสียเวลาของอาณาประชาราษฎร์ผู้ที่รับจ่ายเงินมากๆ เปนอเนกประการ โดยพระมหากรุณาธิคุณ เพื่อประโยชน์ต่อความสดวกของประชาชน p9.4.jpgจึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงิน เรียกว่า ธนบัตร์ขึ้น เพื่อรับแลกเงินของประชาชนเก็บรักษาไว้ แลจำหน่ายธนบัตร์ให้ออกใช้จ่ายแทนเงิน เพื่อสดวกต่อการนับแลตรวจตรา หรือจะพาไปมาก็ง่ายกว่าที่จะขนเงินอันมีจำนวนมากไปนั้น ...
          โดยกำหนดให้จัดเก็บ เงินทุนสำรองธนบัตรออกใช้ และให้จัดตั้ง กรมธนบัตร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ปรากฏว่าภายหลังพิธีเปิด บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการก็ได้นำเงินมาแลก ธนบัตร เป็นปฐมฤกษ์ ครั้นถึงสิ้นปีนั้น ธนบัตรของรัฐบาลได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีปริมาณออกใช้หมุนเวียนเพียงพอ แสดงให้เห็นว่า วงการค้าและประชาชนได้ให้ความสนใจในธนบัตรของรัฐบาลอย่างดียิ่ง นับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นต้นมา การตั้งทุนสำรองธนบัตรออกใช้ในครั้งนี้จึงเป็นการขยายความหมายของ ทุนสำรอง นอกจากจะเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักประกันชาติเหมือนเมื่อครั้ง เงินถุงแดง แล้ว ยังเป็นการเก็บรักษาเพื่อรองรับการใช้ธนบัตรอีกด้วย ซึ่งย่อมทำให้พ่อค้าประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าธนบัตรทุกฉบับ มีเงินตราหนุนหลังอยู่จริง
p9.5.jpg

p9.6.jpg

 

 

 

 


        นอกจากนั้นด้วยผลของกฎหมายฉบับนี้ยังทำให้
เงินกระดาษหลวง และ บัตรธนาคาร ได้ถูกยกเลิกไปด้วย แต่โดยที่มีการใช้ บัตรธนาคาร นานกว่า ๑๓ ปี จึงสร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรติดปากว่า แบงก์ มาตลอดจนถึงทุกวันนี้ จึงเห็นได้ว่า ความดำริที่จะใช้เงินกระดาษแทนเงินเหรียญ ได้มีมาก่อนแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีผลสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕p9.7.jpgp9.8.jpg
            
สำหรับกฎหมายและระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการออกธนบัตรตลอดจนการพิมพ์ธนบัตรได้ถือเอาแบบฉบับจากประเทศอินเดียเป็นหลัก เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ขอยืมตัวชาวอังกฤษซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการกระทรวงการคลังของรัฐบาลอินเดียมาเป็นที่ปรึกษา เหตุนี้ เมื่อรัฐบาลไทยจะออกธนบัตรจึงได้รับคำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และได้ บริษัท Thomas De La Rue เป็นผู้จัดพิมพ์ ธนบัตรแบบ ๑ ให้ตั้งแต่เริ่มแรก และยังคงพิมพ์ ธนบัตรแบบ ๒ และ ๓ ต่อเนื่องตลอดมาถึง ธนบัตรแบบ ๔ จึงเริ่มใช้คำว่า รัฐบาลไทย แทนคำว่า รัฐบาลสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๘
          สำหรับแนวคิดในการจัดตั้ง ธนาคารกลาง ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ที่ถูกระงับไปก่อนเนื่องจากที่ปรึกษาการคลังชาวอังกฤษไม่เห็นด้วยและไม่ให้การสนับสนุน แต่ด้วยตระหนักถึงความยากลำบากของคนไทย และพ่อค้าชาวจีนที่ไม่ได้รับความสะดวกจากธนp9.11.jpgาคารต่างประเทศในไทยเท่าที่ควร จึงทรงมุ่งมั่นในการจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ของไทย ขึ้น เพื่อจะได้เป็นกำลังในการตั้งธนาคารของชาติขึ้นได้ในเวลาต่อไป ด้วยเหตุนี้การทดลองตั้งกิจการธนาคารในชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Club) จึงเปิดทำการขึ้นในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ใช้ทุนดำเนินการ ๓ หมื่นบาทจากเงินส่วนพระองค์ p9.10.jpg
             
ต่อมากิจการได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วจนปรับเปลี่ยนเป็นธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการในชื่อ บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัดได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ท่ามกลางการต่อต้านอย่างหนักจากธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และถูกขยายผลกลายเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสต่างจดจ้องและจับผิดไทยในเรื่องนี้มากp9.12.jpg  
            ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้ชาติตะวันตกใช้ความไม่พอใจนี้เป็นข้ออ้างในการบีบบังคับทางการเมืองต่อไทยดังเช่นเรื่อง
เงินถุงแดง  กับทั้งเพื่อยุติการขัดขวางความพยายามในการก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ของคนไทย กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยจึงทรงตัดสินพระทัยเสียสละโดยขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ด้วยทรงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ส่งผลให้การบีบคั้นกดดันจากอังกฤษและฝรั่งเศสที่มีต่อไทยมาตลอด ๑ ปี จึงยุติลงได้ในที่สุด p9.9.jpg
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >