ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
๑๐ ทุนสำรอง ๑๒ ล้าน PDF พิมพ์ อีเมล์
p10.10.jpg
               เกี่ยวกับการค้าขายกับต่างประเทศ เดิมประเทศไทยอาศัยราคาเนื้อเงินเป็นมาตราตั้งราคาซื้อขายสินค้ากับประเทศที่ใช้ทองคำเป็นมาตรา ทำให้มีราคาขึ้นลงไม่คงที่ และในระยะต่อมา มีการค้นพบแร่เงินมากขึ้นทำให้สภาวะการเงินของโลกได้รับความกระทบกระเทือน จึงส่งผลกระทบมาถึงไทยด้วย ทำให้ค่าของเงินบาทตกต่ำลง
และขณะนั้นรัฐบาลไทยกำลังเตรียมกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนในด้านการพัฒนา จึงต้องจัดระบบการเงินให้มีเสถียรภาพที่มั่นคง เปิดโอกาสให้ชาวต่างประเทศนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ควรจะตั้งกองทุนสำรองขึ้นส่วนหนึ่ง และเพื่อให้การค้าขายได้อาศัยหลักที่มั่นคงยั่งยืน เป็นประโยชน์แก่พ่อค้าประชาชนยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ ขึ้น มีสาระสำคัญสรุปได้คือp10.1.jpg
๑. กำหนดเงินบาทให้มีราคาเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก ๕๕.๘ เซนติกรัม
๒. กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดตั้งเงินทุนสำรอง
ขึ้นส่วนหนึ่งในชั้นต้นนี้มีจำนวน ๑๒ ล้านบาท สำหรับรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสยามกับเงินตราต่างประเทศไว้ให้ยืนที่มั่นคง โดยให้กันไว้เป็นส่วนหนึ่ง มิให้ปะปนกับเงินอื่นในท้องพระคลัง แล้วโปรดฯ ให้นำกำไรจากการทำเหรียญกษาปณ์มาสมทบในเงินทุนสำรองด้วย เงินทุนสำรองนี้กำหนดให้แบ่งเก็บไว้ที่ธนาคารต่างประเทศที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเห็นเหมาะสมได้ ส่วนที่เก็บในประเทศไทยให้เก็บเป็นเหรียญกษาปณ์ทองและเหรียญบาท หรือเนื้อทอง[1]

[1] จนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๗๐ มีเงินทุนสำรองมีมูลค่าทั้งหมดเทียบเท่ากับ ๑.๘๙ ล้านปอนด์สเตอร์ลิง มากกว่าเงินทุนสำรองเมื่อเริ่มแรกเกือบเท่าตัว p10.2.jpg

              และด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไทยกับเงินตราต่างประเทศมีความมั่นคงและสอดคล้องกับหลักสากลยิ่งขึ้น ซึ่งในระยะนั้นกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็น ๑๓ บาท ต่อ ๑ ปอนด์สเตอร์ลิง
            
พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๒   กรมธนบัตร ก็ได้โอนไปขึ้นกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี  เนื่องจากงานทั้ง ๒ กรมนั้นเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องกัน และต้องการจะให้การควบคุมเงินตราของไทยมั่นคงยิ่งขึ้น

            เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓  เนื่องจากเงินรายได้และรายจ่ายของประเทศในขณะนั้นมีจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมพระคลังในท้องที่ต่างๆทั่วพระราชอาณาจักร เข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  และพระองค์ยังมีพระราชดำริว่า ควรจะมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบตรวจตราการรับจ่ายและการรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยตั้งขึ้นมาเป็นแผนกใดแผนกหนึ่งดำเนินการเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ดังนั้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ให้มีหน้าที่ตรวจตราการรับหรือจ่ายเงินแผ่นดินและเงินอื่นๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ โดยมีการประกาศระบุหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ที่จะต้องตรวจตราและวิธีการที่จะต้องปฏิบัติไว้เพื่อมิให้กรมใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ ทำหน้าที่ปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมp10.3.jpg  









                 นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนนาม กรมตรวp10.4.jpgจและกรมสารบาญชี เป็น กรมบาญชีกลาง ตามประกาศวันที่ ๑๘
กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยกรมนี้ให้มีหน้าที่จัดระเบียบการประมวลบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน
และสอบสวนการเบิกจ่ายเพื่อรักษางบประมาณกับเพื่อให้การเบิกจ่ายได้ปฏิบัติไปตามความมุ่งหมายของการงบประมาณด้วยp10.5.jpg 
              ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หลายประเทศต่างต้องประสบกับภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย เมื่อแร่เงินเริ่มมีราคาสูงขึ้นและสูงมากกว่าราคาที่ตราไว้บนหน้าเหรียญ ทำให้ผู้หวังเก็งกำไรได้พากันนำเหรียญกษาปณ์มาหลอม และส่งไปขายยังต่างประเทศในรูปของเนื้อเงินแท่ง ทำให้เหรียญกษาปณ์เงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเริ่มขาดแคลน ประกอบกับในเวลานั้นความต้องการเงินตราชนิดราคา ๑ บาทในท้องตลาดกลับเพิ่มมากขึ้p10.6.jpgน รัฐบาลจึงเห็นความจำเป็นที่จะนำธนบัตรชนิดราคา ๑ บาทออกใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว พอมาถึงช่วงปลายปี ภาวะสงครามในทวีปยุโรปได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้การขนส่งธนบัตรจากประเทศอังกฤษมายังประเทศไทย ไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่คาดหมายไว้ และต้องประสบกับภาวะการขาดแคลนธนบัตรขึ้นอีกครั้งในระยะหนึ่ง ซึ่งทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยการนำธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท ที่ยังมิได้นำออกใช้ มาแก้ไขp10.7.jpgเป็นชนิดราคา ๕๐ บาท 
  p10.8.jpg
p10.9.jpg
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >